2.1ทฤษฎีทวีปเลื่อนของเวเกเนอร์
ปี ค.ศ.1915 อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) ได้นำเสนอเกี่ยวกับทฤษฎีทวีปเลื่อนว่า เมื่อประมาณ 200 – 300 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นดินทั้งหมดในโลกรวมเป็นผืนเดียวกัน เรียกว่า “พันเจีย” คลุมพื้นที่จากขั้วโลกเหนือถึงใต้ ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรพันทาลัสซา แบ่งออกเป็น ลอเรเซียอยู่เหนือ และกอนด์วานาอยู่ใต้ฐานที่สนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์คือ
1. รอยต่อของแผ่นธรณีภาค
2.ความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหินและแนวภูเขา
3.หินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง
4.การค้นพบซากดึกดำบรรพ์4ชนิด ได้แก่ มีโซซอรัส (อาศัยในน้ำจืด) ลีสโทรซอรัส ไซโนกาทัส (อาศัยบนบก) กลอสโซพเทรีส (พืช)หลัก
2.2หลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยา ที่สนับสนุนการเคลื่อนที่ทวีป
2.อายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร
3. ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล(Paleomagnetism)
2.3กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
เกิดจากการถ่ายโอนความร้อนภายในโลกซึ่งมีเปลือกโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มไว้โดยบริเวณส่วนล่างของสันเขาใต้สมุทรจะมีสารร้อนไหลเวียนขึ้นมา เมื่อสารร้อนมีอุณหภูมิลดลงจะมีความหนาแน่นมากขึ้น และมุดตัวลงสู่ชั้นเนื้อโลกบริเวณร่องลึกใต้สมุทร สารร้อนมีการเคลื่อนที่ไหลเวียนเป็นวงจร เรียกว่า วงจรพาความร้อน ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบรูปแบบที่แน่ชัดของวงจรการพาความร้อนที่เกิดขึ้นในชั้นเนื้อโลกจึงตั้งสมมติฐานว่า วงจรการพาความร้อนที่เกิดขึ้นอาจมีวงจรเดียวในชั้นเนื้อโลกทั้งหมดหรือเกิดเป็นสองวงจรในชั้นเนื้อโลกตอนบนกับชั้นเนื้อโลกตอนล่าง วงจรการพาความร้อนเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เปลือกโลกบริเวณกลางมหาสมุทรยกตัวขึ้น หินในเนื้อโลกบริเวณดังกล่าวจะหลอมตัวเป็น แมกมา แทรกดันขึ้นมาบนผิวโลกทำให้เกิดชั้นธรณีภาคใหม่แทรกดันชั้นธรณีภาคเก่าให้เคลื่อนที่ห่างออกไปจากรอยแยก ขณะเดียวก็มีได้มีแรงดึงจากการมุดตัวลงของแผ่นธรณีเนื่องจากความหนาแน่นของแผ่นธรณีแต่ละแผ่นไม่เท่ากัน แผ่นที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะจมลงสู่ชั้นเนื้อโลกในเขตมุดตัว ทำให้ธธรณีเกิดการเคลื่อนที่
2.4 ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
1.ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
เป็นแนวขอบของแผ่นธรณีภาคที่แยกออกจากกัน อันเนื่องมาจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลกได้ อุณหภูมิและความดันของแมกมาจึงลดลงเป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด
ในระยะเวลาต่อมาเมื่อมีน้ำไหลมาสะสมเกิดเป็นทะเลและเกิดเป็นรอยแตกจนเป็นร่องลึก เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแตก จะทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไปทั้งสองด้าน เรียกกระบวนการนี้ว่า การขยายตัวของพื้นทะเล
2.ขอบแ่ผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน
แนวที่แผ่นธรณีภาคชนหรือมุดซ้อนกันเป็นไปได้ 3 แบบ คือ
2.1แผ่นธรณีทวีปชนกับแผ่นธรณีทวีป แผ่นธรณีภาคแผ่นหนึ่งมุดซ้อนลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ทำให้แผ่นธรณีภาคที่เกยอยู่ด้านบน ถูกยกขึ้นเป็นภูเขา ทำให้เกิดเทือกเขาที่สำคัญ
2.2แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรที่มีมวลมากกว่าจะมุดลงด้านล่างทำให้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปซึ่งเบากว่าเกิดรอยคดโค้งอยู่ด้านบน เกิดเป็นเทือกเขาอยู่ด้านในของแผ่นทวีป
2.3แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีมหาสมุทร แผ่นใดแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง เกิดแนวร่องลึกก้นสมุทร และแนวภูเขาไฟใต้ทะเล อันเนื่องมาจากแผ่นธรณีภาคที่จมลงจะหลอมละลายกลายเป็นแมกมา แล้วปะทุขึ้นมาบนแนวเทือกเขาที่เกิดจากรอยย่นของการชนกันของแผ่นธรณีภาคทั้งสอง
3.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
เนื่องจากอัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน ทำให้แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากันด้วย ทำให้เปลือกโลกใต้มหาสมุทรและบางส่วนของเทือกเขาใต้มหาสมุทรไถลเลื่อนผ่านและเฉือนกัน เกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่ขึ้น สันเขากลางมหาสมุทรถูกรอยเลื่อนขึ้นตัดเฉือนเป็นแนวเหลื่อมกันอยู่ มีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทรและร่องใต้ทะเลลึก มักจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆ ระหว่างขอบของแผ่นธรณีภาคที่ซ้อนเกยกันในบริเวณภาคพื้นทวีปหรือมหาสมุทร
2.5การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก
1.ชั้นหินคดโค้ง เป็นการเปลี่ยนลักษณะของชั้นหินที่มีพลาสติก ที่เกิดจากผลของความเค้น เป็นการแสดงความเครียดของหินที่เปลี่ยนลักษณะโดยการแสดงออกในรูปของการคดโค้ง โก่งงอ หรือหักพับ
2.รอยเลื่อน ซึ่งมีการเคลื่อนที่ของหินทั้งสองข้างโดยขนานกับระนาบรอยเลื่อน (fault plane) ลักษณะของระนาบรอยเลื่อนนี้อาจเป็นระนาบที่อยู่ในแนวดิ่งไปจนถึงแนวราบได้ ถ้าระนาบของรอยแตกมีค่าเบี่ยงไปจากแนวดิ่ง ชั้นหินที่อยู่เหนือระนาบของรอยแตก เรียกว่า หินเพดาน (hanging wall) ส่วนหินที่อยู่ด้านล่างระนาบของรอยแตกเรียกว่า หินพื้น (foot wall)
2.1 รอยเลื่อนปกติ (normal fault) เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดานเลื่อนลง เมื่อเปรียบเทียบกับหินพื้น
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgKJMxq-d0wckxUE8fQsxWxXDAhWbm5z95t4JfDHZTSSouu3LGp4WMGesJB2PcYrmzuWkMkQ6f80Gx3vXtK1sfeycEclBTQijotsW-GhpPH5vbxIBUzywFlMaWYWjx8zhKAXvtx3nTR4g0s/s320/land_divergent.png)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhbBe3bDMaeURWk6AN93xpQ8HJUrAmlc_BEwShr47vC78RlCaETxXXN8ywCXhDM-LSTysEsAUPcC3xw7ypnr4UHNz418kiI8Q_ad14r0vJkSdUi5GkoaCsdDZm8cjsUJgM-M3BzTAXXKBLJ/s320/6.16.jpg)
เเหล่งอ้างอิงhttps://supattra150541blog.wordpress.com/category
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น