3.1 แผ่นดินไหว
1.แผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้อย่างไร
แผ่น ดินไหว เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงานจากความเครียดที่ เก็บอยู่ในหินใต้ผิวโลกอย่างทันทีทันใด กล่าวคือเป็นกระบวนการที่พื้นที่บนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเด่นชัด เมื่อแรงเค้น (stress) ที่เกิดขึ้นตามรอยแตก หรือรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นบนเปลือกโลก ภายในโลกถูกปลดปล่อยขึ้นมาสู่พื้นผิวโลก2.คลื่นไหวสะเทือน
2. 1.คลื่นในตัวกลาง (Body wave) เดิน ทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ผ่านเข้าไปในเนื้อโลกในทุกทิศทาง ในลักษณะเช่นเดียวกับคลื่นเสียงซึ่งเดินทางผ่านอากาศในทุกทิศทาง คลื่นในตัวกลางมี 2 ชนิดได้แก่ คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และ คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 7 กิโลเมตร/วินาที
คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที
2. 2.คลื่นพื้นผิว (Surface wave) เดิน ทางจากจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ไปทางบนพื้่นผิวโลก ในลักษณะเดียวกับการโยนหินลงไปในน้ำแล้วเกิดระลอกคลื่นบนผิวน้ำ คลื่นพื้นผิวเคลื่อนที่ช้ากว่าคลื่นในตัวกลาง คลื่นพื้นผิวมี 2 ชนิด คือ คลื่นเลิฟ (L wave) และคลื่นเรย์ลี (R wave)
คลื่นเลิฟ (L wave) เป็น คลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ โดยมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถทำให้ถนนขาดหรือแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEimOSvRoewPsbYZku7OAAp-J4BL5P3Cmqw2wAgCsJ2A09GQXOmf__2T7VEcIyMqTtXC1tpBJ1lrwiy6TUQadujWPwPBzL7pqZrVd0bBO0X0fMu8kPfPfLTYzXfeECSxslGn-8Bp3fR2g2jA/s1600/Rwave.png)
ลื่นเรย์ลี (R wave) เป็น คลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรี ในแนวดิ่ง โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถทำให้พื้นผิวแตกร้าว และเกิดเนินเขา ทำให้อาคารที่ปลูกอยู่ด้านบนเกิดความเสียหาย
3.แนวแผ่นดินไหว
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjwG-Jsx61CJYs2Cv-tMlCXUKPl1cSZKU28WXCPjM7O978YjD15VQ3Vi-1P80xTSInLE3EMBrBDL23ZgdGhu0mwjlckukmeWq99dOCum9MP1mmWAcO888FhOsdgGpuQn8Aeq0xKtW9P0HLC/s320/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7+%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81.jpg)
วงแหวนไฟ
1.แนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปรซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรง 80% ของการเกิดทั่วโลก เรียกวงแหวนไฟ
2.แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรปและภูเขาหิมาลัยในเอเชีย 15% ของการเกิดทั่วโลก
3.แนวรอยต่อที่เหลืออีกร้อยละ 5 เกิดในแนวสันเขากลางมหาสมุทรต่างๆ
4.ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว
ลำดับที่
|
ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
|
I
| เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ |
II
| พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ |
III
| พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก |
IV
| ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว |
V
| รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว |
VI
| รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว |
VII
| ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย |
VIII
| เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา |
IX
| สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก |
X
| อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ |
XI
| อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน |
XII
| ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน |
3.2 ภูเขาไฟ
1.เเนวภูเขาไฟ
เกิด เฉพาะที่เท่านั้น ส่วนใหญ่เกิดในบริเวณที่แผ่นธรณีมาชนกัน โดยเฉพาะบริเวณวงแหวนไฟ ซึ่งจะเคลื่อนที่ตลอดเวลาในรูปแบบที่ต่างกัน ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด2.การระเบิดของภูเขาไฟ
เป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ของเปลือกโลก การระเบิดของภูเขาไฟเกิดจากการปะทุของแมกมา แก๊ส และเถ้าจากใต้เปลือกโลก เมื่อเกิดการระเบิด แมกมา เศษหิน ฝุ่นละออง และเถ้าถ่านของภูเขาไฟจะพ่นออกมาทางปล่องของภูเขาไฟ หรือออกมาทางช่องด้านข้างของภูเขาไฟ หรือจากรอยแตกแยกของภูเขาไฟ
3.ผลของการระเบิดของภูเขาไฟที่มีผลต่อภูมิประเทศ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjPRhZqQSlcj7XkG6eMlRL4z3SdYxon1Efe-8guVXpIjZv63eBGi0Cx4S-SYWACRojZQ9klmbNrSLbKFFLC8PAbYm1t9CauHnTL2fTVQ9zy_PKGl6YOOX8nXnityZSVa58IiZ6CV5fKKVUN/s1600/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7+%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81.jpg)
ภูเขาไฟเซ็นต์ เฮเลนส์-สหรัฐอเมริกา ก่อนระเบิด
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhBvPsxfLSo46emxKWlJsELb2EtixSoIbT96CbNZvKx0mPhmPBIklWocTOTFOV058DC2WFdk3s01jk5zHtmAN3s5vhyphenhyphen0XDVFMPPyH4aEum-MsO-qAM5N9feN-P6CzUdP9Boq3Ueg7wOftUh/s1600/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%94.jpg)
ภูเขาไฟเซ็นต์ เฮเลนส์-สหรัฐอเมริกา หลังระเบิด
การระเบิด ปะทุ ส่วนประกอบของแมกมา จะทำให้ได้ภูเขาไฟที่มีรูปร่างต่างกัน
4.ภูเขาไฟในประเทศไทย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi1DgrG6JuUuWyipvuAtf5HIyjEEfNkj4Wq2YEU20BCYDaveUFsPspwzKhbIOWJMv7dWM3IUhPgQ1-dFQM3nsWW0ecUsarGeU_YW-ZrSUCR24_W_0kP0bzmDONPUnqgQZYXP5Kfsxf8Ntkw/s320/35_big.jpg)
ภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลําปาง
ประเทศ ไทยเคยมีการระเบิดของภูเขาไฟ โดยมีหลักฐานจากหินภูเขาไฟ การระเบิดช่วงสุดท้าย คาดว่าเป็นการระเเบิดแล้วเย็นตัวให้หินบะซอลต์อายุ1.8ล้านปี-10000ปี
เเหล่งอ้างอิง https://www.youtube.com/results?search_query=7+15+13+Lava
https://sites.google.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น